ประวัติความเป็นมา
กรุงเทพมหานคร เป็นมหานครที่มีสถานะเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่างตามโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจของ ประเทศไทย สภาพของสังคมโดยรวมเป็นสังคมเมืองเกือบทั้งหมด มีพื้นที่ 1,568.74 ตารางกิโลเมตร มีประชากรตามทะเบียนราษฎร์ ประมาณ 5.7 ล้านคน ถ้ารวมกับผู้ไม่ย้ายทะเบียนฯ และผู้เข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานคร แล้วในแต่ละวันจะมีประชากรในกรุงเทพมหานครประมาณ 10 ล้านคน
ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ได้มีการจัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร โดยให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีการแบ่งพื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานครเป็นเขต และแขวง ปัจจุบันมี 50 เขต 160 แขวง ได้กำหนดให้การบริหาร กรุงเทพมหานครประกอบไปด้วย สภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นบุคคลที่มาจากการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
สำนักงานปศุสัตว์กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นหน่วยงานราชการบริหารส่วนภูมิภาคของกรมปศุสัตว์ มีอำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ พ.ศ.2545 และตามที่กรมปศุสัตว์มอบหมาย มีโครงสร้างหน่วยงาน แบ่งเป็น 1 ฝ่าย 3 กลุ่มงาน 14 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ได้รับงบประมาณปีละประมาณ 4,600,000 บาท มีที่ตั้งสำนักงานอยู่ที่สำนักเทศกิจ ศาลากลาง (จังหวัดธนบุรีเดิม) เขตธนบุรี แขวงวัดกัลยาณ์ กรุงเทพมหานคร ต้องรับผิดชอบงานตามภารกิจของกรมปศุสัตว์ ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร รวม 50 เขต 160 แขวง โดยมีเป้าหมายงานตามที่สำนัก/กอง ส่วนกลางกำหนด
ปีงบประมาณ 2552 กรมปศุสัตว์ ได้มีการปรับโครงสร้างส่วนราชการกรมปศุสัตว์ใหม่ โดยกำหนดให้สำนักงานปศุสัตว์กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานราชการบริหารส่วนกลาง ของกรมปศุสัตว์ สำหรับโครงสร้างดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจาก กพร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว อยู่ในระหว่างการดำเนินการของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เพื่อจะได้ตราเป็นกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ใหม่ ต่อไป
สำนักงานปศุสัตว์กรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำโครงสร้างส่วนราชการของสำนักงานปศุสัตว์กรุงเทพมหานครใหม่ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานราชการบริหารส่วนกลางของกรมปศุสัตว์
ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ได้มีการจัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร โดยให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีการแบ่งพื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานครเป็นเขต และแขวง ปัจจุบันมี 50 เขต 160 แขวง ได้กำหนดให้การบริหาร กรุงเทพมหานครประกอบไปด้วย สภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นบุคคลที่มาจากการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
สำนักงานปศุสัตว์กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นหน่วยงานราชการบริหารส่วนภูมิภาคของกรมปศุสัตว์ มีอำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ พ.ศ.2545 และตามที่กรมปศุสัตว์มอบหมาย มีโครงสร้างหน่วยงาน แบ่งเป็น 1 ฝ่าย 3 กลุ่มงาน 14 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ได้รับงบประมาณปีละประมาณ 4,600,000 บาท มีที่ตั้งสำนักงานอยู่ที่สำนักเทศกิจ ศาลากลาง (จังหวัดธนบุรีเดิม) เขตธนบุรี แขวงวัดกัลยาณ์ กรุงเทพมหานคร ต้องรับผิดชอบงานตามภารกิจของกรมปศุสัตว์ ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร รวม 50 เขต 160 แขวง โดยมีเป้าหมายงานตามที่สำนัก/กอง ส่วนกลางกำหนด
ปีงบประมาณ 2552 กรมปศุสัตว์ ได้มีการปรับโครงสร้างส่วนราชการกรมปศุสัตว์ใหม่ โดยกำหนดให้สำนักงานปศุสัตว์กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานราชการบริหารส่วนกลาง ของกรมปศุสัตว์ สำหรับโครงสร้างดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจาก กพร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว อยู่ในระหว่างการดำเนินการของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เพื่อจะได้ตราเป็นกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ใหม่ ต่อไป
สำนักงานปศุสัตว์กรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำโครงสร้างส่วนราชการของสำนักงานปศุสัตว์กรุงเทพมหานครใหม่ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานราชการบริหารส่วนกลางของกรมปศุสัตว์
เดือนมีนาคม พ.ศ 2555 ได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานปศุสัตว์กรุงเทพมหานคร มาที่ เลขที่ 151/21-22 ถนนอรุณอมรินทร์ ซอยอรุณอมรินทร์ 45 แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมี นายสมยศ อินทรพิน ดำรงตำแหน่งปศุสัตว์กรุงเทพมหานคร อัตรากำลัง มีข้าราชการ 24 คน ลูกจ้างประจำ 3 คน พนักงานราชการ 13 คน โดยมีภาระหน้าที่ ดังนี้
(๑) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ กฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ กฎหมายว่าด้วยโรคพิษสุนัขบ้า กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) ดำเนินการเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ การผสมเทียม สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมด้านการปศุสัตว์
(๓) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา ประยุกต์ ส่งเสริม และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางวิชาการด้านการปศุสัตว์
(๔) กำกับ ดูแล ให้คำปรึกษา และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ
(๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย