ย้ายที่ทำการสำนักงานปศุสัตว์พื้นที่กรุงเทพมหานคร
ย้ายที่ทำการสำนักงานปศุสัตว์
พื้นที่กรุงเทพมหานคร
ทำการใหม่เลขที่ 909 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
เบอร์โทร: 02-004-4407 สำนักงานปศุสัตว์กรุงเทพมหานคร
ย้ายที่ทำการสำนักงานปศุสัตว์
พื้นที่กรุงเทพมหานคร
ทำการใหม่เลขที่ 909 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
เบอร์โทร: 02-004-4407 สำนักงานปศุสัตว์กรุงเทพมหานคร
วันที่ 22 มกราคม 2564 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายให้ นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงใหญ่ตลาดไก่พื้นเมือง 4.0 มูลค่าเพิ่มเชิงการค้าเพื่อการส่งออก (แปลงใหญ่ดีเด่นกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2563) เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร และ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เครือข่าย (ฟาร์มสาธิตการเลี้ยงแพะนม) เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เพื่อรับฟังปัญหาและหาแนวทางช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรให้มีการดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย พร้อมด้วย นายบุญรอด พัฒนไพศาล หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ รักษาราชการแทน ปศุสัตว์พื้นที่กรุงเทพมหานคร นายณงรงค์ ม่วงไหมทอง หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศการปศุสัตว์ นายวิริชธิ์พล นุชประเสริฐ ปศุสัตว์พื้นที่ 1 นายอนันต์ ฤกษ์ดี ปศุสัตว์พื้นที่ 3 และนายฉัตรชัย สุวานิช ปศุสัตว์พื้นที่ 2 โดยมีนายนวพัษฒ์ จิตต์สุทธิผล ผู้จัดการแปลงใหญ่ตลาดไก่พื้นเมือง 4.0 และนายอารักษ์ สันประเสริฐ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ 2557 เจ้าของศูนย์เครือข่ายฟาร์มสาธิตการเลี้ยงแพะนม ให้การต้อนรับและกล่าวสรุปการดำเนินงานของกลุ่ม
ในการนี้ นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้รับฟังปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา แนวทางการพัฒนากลุ่ม ให้เกิดความยั่งยืนด้วยการผลิตสินค้าปศุสัตว์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสู่ผู้บริโภค การพัฒนาฟาร์มแพะเข้าสู่มาตรฐานฟาร์ม การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ความงามจากนมแพะ นมแพะ ไอศกรีมนมแพะให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น และแนวทางการผลิตไก่พื้นเมือง และแผนที่จะทำต่อในระยะข้างหน้า การสร้างเครือข่าย ขยายกำลังการผลิต พร้อมทั้งให้กำลังใจและมอบเวชภัณฑ์น้ำยาฆ่าเชื้อ แก่นายนวพัษฒ์ จิตต์สุทธิผล ผู้จัดการแปลงใหญ่ตลาดไก่พื้นเมือง 4.0 และนายอารักษ์ สันประเสริฐ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ 2557 เจ้าของศูนย์เครือข่ายฟาร์มสาธิตการเลี้ยงแพะนม
"ประชุมติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติราชการ (คลัสเตอร์การผลิตปศุสัตว์) ประจำปีงบประมาณ 2564 "
วันที่ 7 มกราคม 2564 เวลา 09.30 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายให้นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุมติดตามผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2564
เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบาย งานโครงการสำคัญ และติดตามความก้าวหน้าผลการปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องของคลัสเตอร์ผลิตปศุสัตว์ โดยมีวาระเพื่อทราบเเละพิจารณาดังนี้
-แนวทางการเสนอโครงการ/แผนการดำเนินงาน งบประมาณปี 2564 และ 2565 โดย ผอ.กองแผนงาน
-นำเสนอผลการดำเนินงาน การเบิกจ่ายงบประมาณ และผลงานเด่นของหน่วยงาน ของสำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กองงานพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ และสำนักงานปศุสัตว์พื้นที่กรุงเทพมหานคร
-โครงการภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศษรฐกิจ และสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
โดยมี นายวิวัฒน์ ไชยชะอุ่ม ผอ.กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ นายไสว นามคุณ ผอ.สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ นายเชาวฤทธิ์ บุญมาทิต ผอ.กองแผนงาน นายสมพล ไวปัญญา ผู้แทน ผอ.สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ นายบุญรอด พัฒนไพศาล ผู้แทนปศุสัตว์พื้นที่กรุงเทพมหานคร ผู้แทนจากกองงานพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมม้ากัณฐกะ ตึกอำนวยการชั้น 1 กรมปศุสัตว์ พญาไท กรุงเทพฯ
ข้อมูลราคาขายสินค้าปศุสัตว์
- ราคาเฉลี่ยสินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ สัปดาห์ที่ 2 (ุ 11 - 17 ม.ค. 64)
- ราคาเฉลี่ยสินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ สัปดาห์ที่ 1 (ุ 4 - 10 ม.ค. 64)
- ราคาเฉลี่ยสินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ สัปดาห์ที่ 1 (ุ 18 - 24 ม.ค. 64)
- ราคาเฉลี่ยสินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ สัปดาห์ที่ 1 (ุ สัปดาห์ที่ 1 ของเดือนมีนาคม 2564)
- ราคาเฉลี่ยสินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ สัปดาห์ที่ 2 (ุ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคม 2564)
- ราคาเฉลี่ยสินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ สัปดาห์ที่ 3 (ุ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมีนาคม 2564)
- ราคาเฉลี่ยสินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ สัปดาห์ที่ 1 (ุ สัปดาห์ที่ 1 ของเดือน เมษายน 2564)
- ราคาเฉลี่ยสินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ สัปดาห์ที่ 1 (ุ สัปดาห์ที่ 1 ของเดือน พฤษภาคม 2564)
ขอเชิญชวนผู้เลี้ยงปศุสัตว์ เช่น โคเนื้อ โคนม กระบือ สุกร แพะ แกะ ไก่ เป็ด นกกระทา สุนัข แมว รวมทั้งสัตว์อื่น เช่น ช้าง ม้า ลา ล่อ อูฐ กวาง นกอีมู นกกระจอกเทศ นกสวยงาม และจิ้งหรีด เป็นต้น ไปแจ้งขึ้นทะเบียน(notepad)เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอที่เลี้ยงสัตว์อยู่ ในวันเวลาราชการ
ขึ้นแล้วจะได้อะไร ได้เยอะ เช่น...
ได้ช่วยชาติ ทางราชการจะได้มีข้อมูล จำนวนสัตว์เลี้ยง สถานการณ์การเลี้ยง ปริมาณผลผลิต ฯลฯ เพื่อนำไปวางแผนการพัฒนา การช่วยเหลือด้านแปรรูป/การตลาด ฯลฯ
ได้ช่วยตัวสัตว์ เมื่อทางราชการมีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน ก็จะสามารถวางแผนงานได้ถูกต้อง จัดยา/วัคซีน มาช่วยป้องกันโรคได้ครบถ้วน สัตว์จะไม่เป็นโรคและให้ผลผลิตดี รวมทั้งการแปรรูปและการจำหน่าย ทางราชการ ก็จะสามารถช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
ได้ช่วยตัวเกษตรกรเอง ผู้เลี้ยงจะได้..
ได้รับการฝึกอบรมพัฒนาทักษะการเลี้ยง การแปรรูป การตลาด และด้านอื่นๆตามความเหมาะสม
เมื่อสัตว์ให้ผลผลิตดี ผู้เลี้ยงก็จะมีรายได้มากขึ้น
เมื่อเกิดภัยพิบัติ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาดต่างๆ (รวมทั้ง covid-19) ทางราชการก็อาจจะมีมาตรการมาช่วยเหลือเยียวยาตามความเหมาะสม โดยจะช่วยเหลือเฉพาะผู้ที่ขึ้นทะเบียนแล้วเท่านั้น
(@) ขึ้นอย่างไร..ที่ไหน..
ง่ายๆ เพียงถือบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมหลักฐานภาพถ่ายการเลี้ยง ไปแจ้งที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอพื้นที่ที่เลี้ยงสัตว์อยู่ ในวันเวลาราชการเท่านั้น จากนั้นก็ไปแจ้งปรับปรุงข้อมูล เพียงปีละครั้ง หรือจะปรับปรุงข้อมูลด้วยตนเอง ทางแอพพลิเคชั่นในมือถือก็ได้
(:)) ไม่ยากเลยใช่ไหม รีบไปแจ้งเลยนะคะ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอกำลังรอบริการท่านอยู่ค่ะ